พัฒนาสู่ความยั่งยืน

จรรยาบรรณธุรกิจ

บริษัท ไทย เอ็น ดี ที จำกัด (มหาชน) ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจตามหลักจริยธรรมองค์กร หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพ คำนึงถึงความปลอดภัย และความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อไป 

คณะกรรมการบริษัทได้จัดทำ “คู่มือจรรยาบรรณธุรกิจ” ไว้เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้เกี่ยวข้องได้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีการทบทวนแนวทางปฏิบัติและข้อกำหนดเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในปี 2563 ได้มีการปรับปรุงแก้ไข และเผยแพร่เพื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ทำความเข้าใจ ให้ความสำคัญ และยึดถือในหลักการเดียวกัน เพื่อการเจริญเติบโดอย่างยั่งยืนร่วมกันต่อไป

การปฏิบัติตามจริยธรรมองค์กร

เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่างมีคุณภาพ มีความปลอดภัย และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเที่ยงธรรม เท่าเทียมกันอย่างเสมอภาค และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งได้แก่ ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ  คณะกรรมการจึงได้กำหนดจริยธรรมองค์กร และจัดทำจรรยาบรรณธุรกิจเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจและการปฏิบัติงาน อีกทั้งเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำที่อาจเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น  นำไปสู่ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มเกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจ และการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อไป 

แนวทางการดำเนินงาน

  • บริษัทฯ มุ่งมั่นสร้างองค์กรให้มีการพัฒนา / เปลี่ยนแปลงให้ทันยุคสมัย หรือปัจจัยภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
  • บริษัทฯ จะต้องดําเนินธุรกิจให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล มาตรฐานด้านความปลอดภัย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • บริษัทมีความเชื่อมั่นว่าการประกอบธุรกิจภายใต้ขอบเขตของความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม และมีจริยธรรมนั้น เป็นนโยบายการประกอบธุรกิจที่ดีซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจของบริษัทฯ เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
  • บริษัทฯ จะให้ความเคารพและยึดถือในขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นนั้นๆ 
  • บริษัทจะประกอบธุรกิจของบริษัทด้วยความซื่อสัตย์ รวมถึงนโยบายทางการเงิน โครงร่างงบประมาณ และการประเมินการลงทุนในโครงการต่างๆ อย่างรัดกุมและโปร่งใส
  • บริษัทฯมุ่งหวังให้กรรมการและพนักงานทุกคน พึงยึดมั่นต่อนโยบายของบริษัทฯ กระบวนการด้านบัญชี และเกณฑ์การควบคุมอื่นๆ ทั้งนี้ กรณีที่มีข้อสงสัยใดๆ ว่าอาจมีการฝ่าฝืนจริยธรรมองค์กรซึ่งก่อให้เกิดการกระทำผิดหรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของบริษัทฯ พนักงานควรรายงานต่อทีมบริหารทันที
  • หากกรรมการตรวจสอบพบข้อสังเกตที่น่าสงสัยอย่างมีนัยสำคัญ ควรรายงานคณะกรรมการบริษัททราบทันทีเพื่อหาสาเหตุและทำการแก้ไข รวมถึงหาแนวทางป้องกันการเกิดซ้ำต่อไป

ดังนั้น กระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ จึงได้ตระหนักและยึดมั่นในจรรยาบรรณธุรกิจ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติอยู่เสมอ โดยครอบคลุมในเรื่องต่างๆ ดังนี้

  1. ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน

    1.1 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น                            
    1.2 การปฏิบัติต่อลูกค้า                            
    1.3 การปฏิบัติต่อเจ้าของผลิตภัณฑ์/ผู้จัดจำหน่าย/ตัวแทนจำหน่าย        
    1.4 การปฏิบัติต่อคู่ค้า                            
    1.5 การปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า                        
    1.6 การปฏิบัติต่อเจ้าหนี้                            
    1.7 การปฏิบัติต่อพนักงาน                            
    1.8 การปฏิบัติตนของพนักงาน และการปฏิบัติต่อพนักงานอื่น            
    1.9 การปฏิบัติต่อผู้รับเหมา                            
    1.10 การปฏิบัติต่อหน่วยงานราชการ                        
    1.11 การเคารพสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม       
    1.12 การปฏิบัติต่อชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากร    

  2. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  3. การซื้อขายหลักทรัพย์และการใช้ข้อมูลภายใน
  4. การใช้ และดูแลระบบสารสนเทศ / ทรัพย์สินทางปัญญา
  5. ของขวัญ ของกำนัล การเลี้ยงรับรอง หรือประโยชน์อื่นใด
  6. ความปลอดภัย สุขอนามัย และสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน
  7. การป้องกัน และรักษาทรัพย์สินของบริษัทฯ
  8. ระบบการควบคุม และตรวจสอบภายใน และการรายงานทางการเงิน
  9. การรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ
  10. การรักษาความลับของบริษัทฯ
  11. การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น
  12. การใช้สิทธิทางการเมือง
  13. การแจ้งเบาะแส ร้องเรียน แสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะ
  14. การติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติและการลงโทษ